วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมครั้งที่ 15
วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

วันนี้อาจารย์ให้ทำ My Map สรุปความรู้ที่ได้รับในวิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ว่าในขณะที่เรียนมา 1 เทอม เราได้ความรู้อะไรบ้าง





กิจกรรมครั้งที่ 14
วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษ กลุ่มละ 2 แผ่น เพื่อให้เขียนแผนการสอน กลุ่มละ 1 หน่วย โดยแผ่นแรกอาจารย์ให้เขียนออกมาเป็น My Mapping ก่อน ซึ่งมีหัวข้อดังนี้ ชื่อหน่วย ที่มา รสชาติ ประโยชน์ นิทานและ เพลง 


กิจกรรมครั้งที่ 13
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม เพื่อออกแบบมุมประสบการณ์ในแบบของเราค่ะ ที่ต้องเชื่ยงโยงเกี่ยวกับภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้ด้วย


กิจกรรมครั้งที่ 12
วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
ก่อนเข้าเรียนอาจารย์ให้ตัวแทนเพื่อนออกมาหน้าห้องเพื่อให้มาเล่นเกม ใบ้ท่าทางสัตว์ต่างๆให้เพื่อนในห้องทายว่าเป็นสัตว์อะไร เมื่อเพื่อนในห้องทายถูกให้ทำเสียงเป็นสัตว์ตัวนั้น
**กิจกรรมนี้ได้พัฒนาการทางด้านภาษา ด้านท่าทางและ ด้านเสียง

วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา


กิจกรรมครั้งที่ 11
วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันนี้อาจารย์ได้ให้ผลิตสื่อ เกมการศึกษากลุ่มละ 1 แผ่น 
กิจกรรมครั้งที่ 10
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
     - วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องของ สื่อการเรียนรู้ทางภาษา หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ วิธีการต่างๆ สิ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา เป็นต้น
   
    - เรียนเรื่องคาวมสำคัญของสื่อ อย่างเช่น เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส เน้นสื่อที่เข้าใจง่าย เป็นรูปธรรม เป็นสื่อที่ทำได้ง่าย เร็ว และ ทน

    - เรียนเรื่องประเภทของสื่อ แบ่งออกได้ 5 ประเภท
กิจกรรมครั้งที่ 9
วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

 วันนี้อาจารย์ให้ผลิตสื่อเกี่ยวกับประเทศอาเซียน โดยอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม 
กิจกรรมครั้งที่ 8
วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันนี้อาจารย์ให้ช่วยกันแต่งนิทานหนึ่งเรื่องโดยให้ทั้งห้องช่วยกันคิด จะทำเป็นนิทานเล่มใหญ่ (big book ) อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อที่จะแบ่งหน้าของนิทานให้แต่ละกลุ่มเอาไปวาด โดยนิทานเรื่องนี้ได้ชื่อว่า "ลูกหมูแสนซน"
กิจกรรมครั้งที่ 7
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อาจารย์ได้ให้วาดรูป 1 รูป อะไรก็ได้ที่เราอยากวาด และให้ออกไปเล่าเป็นนิทานต่อจากเพื่อนที่เล่าก่อนหน้านี้ 


เรียนเรื่อง :  การประเมินภาษาเด็ก

     1. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลายใช้การสังเกตุและจดบันทึกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด อย่างเช่น
             - การสนทนา การสังเกตุ หรือการจดบันทึก
             - การเขียน คือ การดูที่ลายเส้นที่เด็กเขียน
             - วาดภาพของเด็ก คือ ดูรายละเอียดของภาพว่ามีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด
      2. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
             - บันทึกในสิ่งที่เด็กทำ แต่ในสิ่งที่เด็กทำไม่ได้ครูควรส่งเสริมเด็ก
             - ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้น
      3. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
             - การที่จะดูว่าเด็กมีทักษะด้านการพูดดีไหม จะต้องดูหลายๆอย่าง ไม่ใช่ดูแค่อย่างเดียว
      4. ให้เด็กได้มีโอกาสประเมินตนเอง
             - เวลาให้เด็กทำผลงาน ควรจะติดผลงานเด็กไว้ภายในห้อง เพื่อที่จะให้เด็กได้ดูพัฒนาการของตนเอง
      5. ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
             - ครูที่ดีต้องใส่ใจในรายละเอียดของผลงานเด็กระหว่างที่เด็กทำ และต้องใส่ใจในกระบวนการคิดของเด็กด้วย


กิจกรรมครั้งที่ 6
วันที่ 19 กรกฎาคม 2556
- ได้รู้เรื่อง ภาษาธรรมชาติ ว่าเป็นอย่างไร และแนวการทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ควรจะจัดแบบไหน อาจจะจัดแบบ ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา เรียนรู้ความหมายของคำ หรือ การแจงลูกสะกดคำ  การเขียน อาจารย์สอนเรื่อง อ่านสะกดคำ การอ่านสะกดคำนั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู็ภาษาของเด็กปฐมวัย
ภาพนี้เป็นตัวอย่างของการแจงลูกคำ




ภาพนี้เป็นตัวอย่างของการอ่านสะกดคำ












กิจกรรมครั้งที่ 5
วันที่ 12 กรกฏาคม 2556

 - ได้รู้เรื่องเกี่ยวกับนักทฤษฏีต่างๆว่า แต่ละคนมีทฤษฏีเป็นแบบไหนบาง ได้เรียนรู้ทฤษฏีของ สกินเนอร์ ว่า สิ่งแวดล้อมต่างๆนั้นมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก และ เด็กในช่วงปฐมวัยจะให้ความสำคัญต่อสิ่งเร้าและการตอบสนอง ค่ะ

   - ได้รู้เกี่ยวกับ ทฤษฏีของ วัตสัน ว่าเป็นทฤษฏีของการวางเงื่อนไขพฤติกรรมเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถวางเงื่อนไขให้เด็กได้ เช่น วัตสันได้ทำการทดลองกับเด็ก อายุ 11 เดือน ด้วยการเอากระต่ายน้อยมาให้เด็กเล่น ครั้งแรกเด็กจับเล่นไม่กลัวหรือตกใจเมื่อเห็นกระต่ายน้อย ส่วน ครั้งที่ 2 เขาก็เอากระต่ายมาให้เด็กเล่นอีก แต่ครั้งนี้เวลาเด็กจะจับกระต่าย เขาก็จะตีแผ่นเหล็ก เด็กจะตกใจและร้องไห้ เมื่อเขาทำแบบนี้ไปไม่กี่ครั้ง เด็กก็จะเกิดความกลัวขึ้น เวลากระต่ายเข้ามาใกล้ก็จะร้องไห้ และยังทำให้เด็กกลัวสิ่งต่างๆที่ลักษณะคล้ายกัน เวลาเด็กเห็นสิ่งแบบนั้นก็จะทำให้เด็กกลัวได้ ค่ะ
กิจกรรมครั้งที่ 4
วันที่ 5 กรกฎาคม 2556                                                      


วันนี้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

กิจกรรมครั้งที่ 3
วันที่ 28 มิถุนายน 2556

วันนี้หยุดเรียนค่ะ เพราะ มีกิจกรรมรับน้องใหญ่ของมหาวิทยาลัย

กิจกรรมครั้งที่ 2
วันที่ 21 มิถุนายน 2556
     อาจารย์สอนเรื่องเด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และ โรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะ การฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐาน และอาจารย์ยังให้ดูทฤษฎีพัฒนาการทาางสติปัญญาของเพียเจย์ด้วย อย่างเช่น

เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นผลจากความสามารถทางสติปัญญา เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัวของเขา เด็กจะเป็นผู้ปรับสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ภาษาของตน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
            1. เด็กมีอิทธิพลต่อวิธีการที่แม่พูดกับเขา จากผลการวิจัยปรากฏว่า แม่จะพูดกับลูกแตกต่างไปจากพูดกับผู้อื่น เพื่อรักษาการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แม่จะพูดกับเด็กเล็กๆต่างจากเด็กโตและผู้ใหญ่ จะพูดประโยคที่สั้นกว่า ง่ายกว่า เพื่อการสื่อสารที่มีความหมาย
            2. เด็กควบคุมสิ่งแวดล้อมทางภาษา เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เด็กต้องการค้นพบว่าเสียงที่ได้ยินมีความหมายอย่างไร มีโครงสร้างเพื่อองค์ประกอบพื้นฐานอะไร
            3. การใช้สิ่งของหรือบุคคลเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเข้าใจพื้นฐานว่า ผู้ใหญ่เห็นหรือได้ยินเขาพูด เด็กอาจเคลื่อนไหวตัวหรือ จับ ขว้าง ปา บีบ ของเล่น เพื่อสร้างความเข้าใจเพื่อเป็นพื้นฐาน และความจำเป็นของความเจริญทางภาษา การเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกี่ยวกับผู้อื่น เกี่ยวกับสิ่งของ เกี่ยวกับเหตุและผล เกี่ยวกับสถานที่ มิติ เกี่ยวกับการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ของกิริยาและสิ่งของ มีส่วนช่วยให้เด็กแสดงออกทางภาษาอย่างมีความหมาย นั่นคือเด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม




วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556



กิจกรรมครั้งที่ 1 วันที่ 14  มิถุนายน  2556


อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 - 3 เพื่อให้ทำแผนผังความคิดของแต่ละกลุ่ม